สายสัมพันธ์ 75 ปี ทำไมสหรัฐฯ หนุนหลังอิสราเอลแบบสุดลิ่มทิ่มประตู

By admin Mar 27, 2024 #dooball88

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมในสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ “ฮามาส” ชาติมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐฯ ถึงให้การสนับสนุนและช่วยเหลืออิสราเอลอย่างเต็มที่ ทั้งเรื่องของเงินสนับสนุนทางทหาร การส่งกองเรือรบเข้ามาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมถึงการประกาศว่าจะช่วยส่งกระสุนให้ด้วย

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบันอย่าง โจ ไบเดน เอง ก็ประกาศคำสัญญาว่าจะ “ยืนหยัดเคียงข้างอิสราเอล” ประณามการกระทำของฮามาสที่เปิดฉากโจมตีและจับตัวประกัน

อิสราเอลคาดตัวประกันถูกจับไว้ใต้ดิน ด้านฮามาสโชว์คลิปปล่อยตัวประกัน

ใครคือมันสมองของฮามาส? ผู้บงการแผนโจมตีอิสราเอล

“Iron Dome” คืออะไร? ระบบป้องกันขีปนาวุธผู้พิทักษ์น่านฟ้าอิสราเอล

เรื่องนี้ต้องย้อนไปตั้งแต่ปี 1948 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ

จุดเริ่มต้นความสัมพันธ์

เมื่อปี 1948 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชาวยิวซึ่งแตกสานซ่านเซ็นไปด้วยสาเหตุต่าง ๆ ต้องการกลับมาตั้งรกรากในดินแดนเยรูซาเล็ม เพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของชาวยิว แต่ช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนนี้ได้เป็นของชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับอื่น ๆ ไปแล้ว

 สายสัมพันธ์ 75 ปี ทำไมสหรัฐฯ หนุนหลังอิสราเอลแบบสุดลิ่มทิ่มประตู

แม้จะเป็นอย่างนั้น แต่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้น แฮร์รี ทรูแมน เป็นผู้นำโลกคนแรกที่รับรองรัฐยิวแห่งใหม่ ถึงจะยังไม่มีสถานะเป็นประเทศอย่างเป็นทางการก็ตาม

การกระทำของเขาเป็นที่ยอมรับและชื่นชมในอิสราเอลมาก ถึงขั้นมีการตั้งชื่อหนึ่งในชุมชนเกษตรว่า “ฟาร์ทรูแมน” (Kfar Truman) เพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ รายนี้

สหรัฐฯ เริ่มให้การสนับสนุนอิสราเอล

ช่วงเวลาหลังจากยุคของทรูแมนนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอิสราเอลไม่ได้ดีเท่าไหร่ โดยในสมัยของ ดไวต์ ไอเซนฮาวเออร์ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และอิสราเอล ได้ร่วมกันโจมตีอียิปต์ในปี 1956 เพื่อพยายามยึดคลองสุเอซและโค่นล้มประธานาธิบดี กามาล อับเดล นัสเซอร์ ของอียิปต์ ทำให้ไอเซนฮาวเออร์ต้องกดดันประเทศเหล่านี้ให้ถอนทหาร และเขาไม่พอใจที่อิสราเอลไปร่วมวงในการโจมตีประเทศอื่นคำพูดจาก สล็อตออนไลน์

ส่วนในยุคของ จอห์น เอฟ. เคนเนดี เขามีความกังวลเกี่ยวกับความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของอิสราเอล จึงได้พยายามหาทางส่งผู้ตรวจสอบของสหรัฐฯ เข้าไปในพื้นที่นิวเคลียร์ และระงับโครงการนิวเคลียร์ของอิสราเอล

ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อิสราเอลขยับเข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้นในยุคของประธานาธิบดี ลินดอน จอห์นสัน โดยเขาให้ความช่วยเหลือและจัดหาสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ให้อิสราเอลในช่วงหลายปีก่อนสงคราม 6 วันในปี 1967

ต่อมาในสมัยของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้เกิด “สงครามยมคิปปูร์” ขึ้นในปี 1973 โดยแนวร่วมรัฐอาหรับ ซึ่งมีประเทศอียิปต์และซีเรียเป็นผู้นำ ได้เปิดฉากโจมตีอิสราเอล

สหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของนิกสัน ตัดสินใจช่วยสนับสนุนอิสราเอล โดยการส่งความช่วยเหลือให้ทางอากาศ รวมถึงมีการส่งมอบอาวุธให้ด้วย

จูเลียน เซลิเซอร์ นักประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน กล่าวว่า “นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนั้นคิดว่า การสนับสนุนอาวุธของสหรัฐฯ มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของอิสราเอล ณ เวลานั้น”

นิกสันยังมีบทบาทสำคัญในการยุติสงคราม ด้วยการส่ง เฮนรี คิสซิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปเป็นทูตเจรจา

ซึ่งในช่วงก่อนเกิดสงครามยมคิปปูร์นี้เอง ที่ โจ ไบเดน ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงวุฒิสมาชิกหนุ่ม ได้ไปเยือนอียิปต์และอิสราเอล เป็นบทบาทแรกเกี่ยวกับตะวันออกกลางในเส้นทางทางการเมืองของเขา

เคยเผชิญหน้าโดยตรงครั้งแรกกับอิสราเอลและตะวันออกกลาง ณ จุดนี้ในฐานะวุฒิสมาชิกหนุ่ม เมื่อเขาไปเยือนอียิปต์และอิสราเอลก่อนสงครามปี 1973 เขาเล่าเรื่องราวเวอร์ชันต่างๆ หลายครั้ง โดยมองว่ามันเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับเขาเสมอ

จากนั้นในสมัยของประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์ เขาเป็นตัวกลางที่สร้างสันติภาพระหว่างอียิปต์และอิสราเอลได้สำเร็จ โดยเจรจาใก้นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เมนาเคม เบกิน และประธานาธิบดีอียิปต์ อันวาร์ ซาดัต ลงนามในสนธิสัญญาแคมป์เดวิด

ความสัมพันธ์ห่างเหิน

เมื่อ โรนัลด์ เรแกน ขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ เขาเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอิสราเอล มีการส่งนาวิกโยธินสหรัฐฯ ส่งไปยังเลบานอนในฐานะกองกำลังรักษาสันติภาพ หลังจากที่อิสราเอลบุกโจมตีสมาชิกองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO)

แต่ปรากฏว่า สถานทูตสหรัฐฯ และค่ายนาวิกโยธินสหรัฐฯ ถูกระเบิดในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อปี 1983 โดยฮิซบอลเลาะห์ กลุ่มมุสลิมชีอะห์ติดอาวุธที่มีเกี่ยวข้องกับอิหร่าน ถูกกล่าวหาเป็นผู้ก่อเหตุ

ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1980 เรแกนตกลงขายขีปนาวุธให้กับอิหร่านเพื่อแลกกับการปล่อยตัวตัวประกันชาวอเมริกันในเลบานอน ซึ่งการเจรจาดังกล่าวเกือบจะทำให้ให้เรแกนต้องลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี

มีรายงานว่า การขายอาวุธให้กับอิหร่านนั้น มีอิสราเอลทำหน้าที่เป็นคนกลาง แต่เรื่องอื้อฉาวที่ใหญ่กว่าก็คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของเรแกนใช้รายได้จากการขายอาวุธเพื่อเป็นทุนแก่กลุ่มกบฏต่อต้านคอมมิวนิสต์ในนิการากัว ในเอกสารบันทึกของเรแกน มีการระบุว่า อิสราเอลยุยงให้เกิดการขายขีปนาวุธแลกตัวประกัน

เมื่อมาในยุคประธานาธิบดี จอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช ได้ดำเนินนโยบายป้องกันไม่ให้เงินทุนของสหรัฐฯ ถูกใช้สำหรับการตั้งถิ่นฐานของอิสราเอลในเขตเวสต์แบงก์ ทำให้เกิดความตึงเครียดกับอิสราเอล

แต่ต่อมา เขาพยายามนำอิสราเอลมาคุยกับประเทศอื่น ๆ เพื่อเริ่มกระบวนการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง ซึ่งรวมถึงชาวปาเลสไตน์ เป็นฐานให้ บิล คลินตัน กลายเป็นนายหน้าสันติภาพระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ได้เกือบจะสำเร็จ

คลินตันเป็นผู้ร่างสนธิสัญญาออสโลเมื่อปี 1993 โดยยืนอยู่เบื้องหลังการจับมือกันครั้งประวัติศาสตร์ระหว่าง ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์ในขณะนั้น และนายกรัฐมนตรี ยิตซัก ราบิน ของอิสราเอล แต่ที่ต้องใช้คำว่า “เกือบสำเร็จ” ก็เพราะว่า สนธิสัญญาออสโลได้ทำให้กลุ่มฮามาสไม่พอใจ และยังคงรบรากับอิสราเอลมาจนถึงปัจจุบัน

ขณะที่ในสมัยของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เกิดเหตุวินาศกรรม 9/11 ขึ้น ทำให้นโยบายของสหรัฐฯ ขณะนั้น ลดความสำคัญเรื่องการสร้างสันติภาพปาเลสไตน์-อิสราเอล แต่มุ่งความสนใจไปที่การต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายในตะวันออกกลางแทน

ในขณะนั้น อิสราเอลมีนายกรัฐมนตรีคือ แอเรียล ชารอน ซึ่งสนับสนุนให้ชาวอิสราเอลเข้าไปตั้งถิ่นฐานมากขึ้นในเขตเวสต์แบงก์และเยรูซาเล็มตะวันออก แต่ประชาคมระหว่างประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ มองว่าจะเป็นการละเมิดอนุสัญญาเจนีวา ซึ่งห้ามไม่ให้มีการย้ายพลเมืองของตนไปยังดินแดนที่ถูกยึดครอง

บุช ชารอน และผู้นำปาเลสไตน์ มาห์มูด อับบาส ได้ร่วมกันพยายามอีกครั้งในการผลักดันไปสู่การแก้ปัญหาอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ซึ่งท้ายที่สุดก็ล้มเหลว

จากนั้นเมื่อ บารัก โอบามา ขึ้นเป็นประธานาธิบดี เขาพยายามที่จะสานสัมพันธ์กับชาติตะวันออกกลาง โดยยังคงสนับสนุนอิสราเอลต่อไป แต่เขาอธิบายว่า การที่อิสราเอลเข้าไปในเขตเวสต์แบงก์นั้น ถือเป็น “การยึดครอง” เขาต่อต้านการสร้างถิ่นฐานใหม่ในเขตเวสต์แบงก์

สหรัฐฯ-อิสราเอลกลับมาใกล้ชิดเพราะ “ทรัมป์”

โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นพันธมิตรคนสำคัญของ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนปัจจุบัน ทรัมป์ยังประกาศจุดยืนอยู่ฝ่ายอิสราเอลในการเจรจากับชาวปาเลสไตน์ สั่งย้ายสถานทูตสหรัฐฯ ไปยังกรุงเยรูซาเล็ม และสนับสนุนการผนวกเวสต์แบงก์และเยรูซาเล็มตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอล ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับชาวปาเลสไตน์อย่างมา

เซลิเซอร์วิเคราะห์ว่า “ทรัมป์เป็นผู้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และปิดตายแนวคิดการแก้ปัญหาแบบสองรัฐ (TwoState Solution)” และเสริมว่า ทรัมป์ ซึ่งขณะนี้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง ได้ให้การสนับสนุนอิสราเอลทางการเมืองมากขึ้นในสหรัฐฯ

ในส่วนของไบเดนนั้น แม้จะแตกต่างจากทรัมป์ แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ และได้ผลักดันให้อิสราเอลและซาอุดีอาระเบียปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติ

หลายฝ่ายมองว่า การที่ไบเดนประณามกลุ่มฮามาสและสัญญาว่าจะหยัดยืนข้างอิสราเอล ดูเหมือนเป็นสัญญาณกลาย ๆ ว่าสหรัฐฯ ภายใต้การนำของเขา ยังคงเลือกที่จะยืนข้างอิสราเอลมากกว่าวางตัวเป็นกลางแล้วหาทางแก้ไขความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์อย่างยั่งยืน

เรียบเรียงจาก CNN

ภาพจาก AHMAD GHARABLI / AFP

คลัง เผย ต้องลงทะเบียน – ยืนยันตัวตน รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท | โชว์ข่าวเช้านี้ | 11 ต.ค.66

เทศกาลกินเจ 2566 เริ่มวันไหน มีข้อปฏิบัติและข้อห้ามอย่างไร?

ทำไมต้อง “ล้างท้องก่อนกินเจ” เปิดข้อปฏิบัติ ต้อนรับเทศกาลกินเจ 2566

By admin

Related Post